แม่ควรรู้!! ก่อนตัดสินใจเลือกเครื่องปั๊มนม

พอใกล้ๆ คลอด แน่นอนว่าคุณแม่ จะเริ่มศึกษา รีวิวต่างๆ และข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปั๊มนม ซึ่งปัจจุบันเครื่องปั๊มนมมีมากมายหลายยี่ห้อ ดูเหมือนจะ ออกแบบมาคล้ายๆกันไปหมด แต่ละแบรนด์ก็จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป ซึ่ง ถ้ายังไม่คลอด จะรู้ได้ยังไงว่าเครื่องไหนดี เครื่องไหนจะเหมาะกับเรา หรือแม้กระทั่งการเลือกกรวยปั๊มนมที่พอดี กว่าจะรู้บางทีก็ต้องลองซื้อไปหลายเครื่องแล้ว ซึ่งสิ่งนึงที่คุณแม่น่าจะเชื่อได้ก็คือรีวิว ตามเวป ตามเพจ ต่างๆ จริงบ้างไม่จริงบ้าง หรือฟังจากเพื่อนๆ ผู้มีประสบการณ์ ถึงแม้ว่าว่า Cimilre จะจำหน่ายเครื่องปั๊มนมเป็นหลัก ทางเราก็ไม่ได้บอกว่าเครื่องปั๊มนมของเราดีที่สุด เพราะคุณแม่แต่ละคนอาจจะเหมาะกับเครื่องแบรนด์นี้รุ่นนนี้ แต่บางคนอาจจะไม่ถนัด หรือไม่ชอบ มาดูกันค่ะว่า มีอะไรบ้างที่เราควรพิจารณา

  1. ความแรง หรือแรงดูด

เครื่องปั๊มนมในปัจจุบันมีการเพิ่มแรงดูดขึ้นมากว่าสมัยก่อนอย่างมาก อาจจะเป็นเพราะ เทคโนโลยี ที่ทำให้ปั๊มตัวเล็กๆ มีแรงดูดมากขึ้นได้มหาศาล แต่ถามว่าแรงดูดที่มากนั้น ควรจะมากถึงแค่ไหนล่ะ 

อันที่จริงแล้วคนเรามีความสามารถในการทนต่องแรงดูดได้ไม่เท่ากันค่ะ แรงที่น้อยเกินไปน้ำนมอาจจะไม่ออก หรือออกได้ไม่ดี แต่มากเกินไปนอกจากจะทำให้เจ็บแล้วน้ำนมก็อาจจะไม่ออกเช่นกัน

มีการทำวิจัย [1] มาว่า แรงดูดที่ทำให้น้ำนมออกได้มากที่สุด ควรจะเกิน 150 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) แต่หากสูงเกินกว่า 230  mmHg  ร่างกายเราจะเริ่มทนรับความเจ็บปวดไม่ไหว และอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เพิ่งคลอด บางท่านอาจจะทนได้ไม่ถึง 150 mmHg ด้วยซ้ำ เครื่องปั๊มนมที่ดีควรจะ คลอบคลุมแรงดูดในช่วง 150 – 230 mmHg มากกว่านี้อาจจะไม่ได้มีประโยชน์ และอาจจะทำให้เจ็บหัวนมด้วยนะคะอันนี้สำคัญมาก คุณแม่หลายท่านอาจจะขยาดหรือกลัวเครื่องปั๊มนมไปเลย

ซึ่งแรงดูดที่เหมาะสมที่จะใช้ในการปั๊มนม คือแรงดูดที่มากพอ แต่ไม่มากจนเริ่มรู้สึกเจ็บ หรือไม่สบายในารปั๊ม หรือรู้สึกว่าต้องทนเจ็บระหว่างปั๊ม  ซึ่งคุณแม่แรกคลอด อาจจะไม่สามารถทนเจ็บได้เหมือนคุณแม่ที่คลอดมาก 5-6 เดือนแล้วนะคะ ห้ามเลียนแบบแรงดูดกับคนอื่นโดยเด็ดขาด เอาเท่าที่เราทนได้ไม่เจ็บ ปั๊มสบาย ไม่ต้องจิกเท้าจิกมือเวลาเจอเครื่องปั๊มในช่วงนาทีแรกๆ เป็นพอค่ะ พอร่างกายเริ่มปรับตัวได้ หรือเริ่มชินกับเครื่อง ก็ค่อยๆขยับแรงดูดขึ้นไปได้ค่ะ

2. รอบดูด ความถี่ หรือ Cycle per min  

ปกติแล้วเด็กทารกที่คลอดมาแบบแข็งแรง สุขภาพดี จะดูดนมแม่ด้วยความเร็ว 45 – 55 ครั้งต่อนาที  [2,3] ซึ่ง จังหวะที่เหมาะสมในการปั๊มนม หรือแม่กระทั่งการกระตุ้นน้ำนม ไม่ควรหนีไปจากนี้มากนัก การมีรอบปั๊ม เป็น 100  ต่อนาทีอาจจะไม่ได้ทำให้ประสิทธิภาพการปั๊มหรือการกระตุ้นดีขึ้น หรือรอบดูดที่ต่ำกว่า 25  ต่อนาที อาจจะทำให้ประสิทธิภาพการปั๊มไม่ดีนัก โดยเฉพาะ การดูดด้วยแรงสูงๆ เป็นเวลานาน ใน 1 รอบ อาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของหัวนมคุณแม่ได้ค่ะ โดยเฉพาะคุณแม่ที่เพิ่งคลอด ควรจะเริ่มจากความถี่สูงหน่อยแต่ แรงต่ำๆ แต่ไม่ควรสูงกว่า 60 – 70 รอบต่อนาที ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในโหมดกระตุ้นน้ำนม หรือ โหมดปั๊มที่แรงต่ำๆนะคะ

3. ลักษณะกรวยปั๊ม รูปร่าง หรือวัสดุ

ข้อนี้จะเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างมากๆ ที่จะทำให้ประสิทธิภาพการปั๊มเป็นไปในทิศทางไหน บางยี่ห้อ บางรุ่น จะปั๊มออกหรือไม่ออกก็เพราะกรวยปั๊มนี่แหละค่ะ เพราะจริงๆแล้วแรงดูด รอบดูด ที่กล่าวมาในข้อ 1-2  แต่ละยี่ห้อไม่ต่างกันมากนัก ส่วนมากจะครอบคลุมช่วงนี้อยู่แล้วค่ะ แต่สาเหตุที่ทำให้ปั๊มบางยี่ห้องปั๊มไม่ดี หรือปั๊มไม่ออก ก็คือ กรวยปั๊มนมนี่เองค่ะ กรวยปั๊มนมที่มีรูปร่าง ต่างๆ ออกไป จะเหมาะสำหรับสรีระของคุณแม่แต่ละท่าน บางท่านใช้ยี่ห้อ นี้ปั๊มได้ ปั๊มออกดี แต่บางท่านอาจจะใช้ไม่ได้ก็มี ซึ่งข้อนี้อธิบายยากค่ะ ทางที่ดีควรจะลอง หรือมีโอกาสได้ลองลักษณะที่ดีของกรวยปั๊มนม คือไม่ยวบเวลาปั๊ม ความยาวของกรวยเหมาะสมกับหัวนม และขนาดกรวยพอดีกับหัวนมคุณแม่หลังคลอดค่ะ  

กรวยปั๊มนมที่ทำจากวัสดุที่นิ่มเกินไป จะดูดแรงจากปั๊มบางส่วนทำให้แรงที่ปั๊มตกลงไปเล็กน้อย เมื่อเทียบกับกรวยพลาสติกแข็ง อันนี้คุณแม่ที่เคยปั๊มนมแล้วอาจจะทดสอบโดยใช้เครื่องปั๊มเดียวกัน เปลี่ยนชุดกรวยเป็นแบบนิ่มและแบบเข็ง เทียบความรู้สึกกันค่ะ ถ้าเป็นกรวยนิ่มเครื่องปั๊มอาจจะต้องมีแรงดูดที่สูงมากเพื่อมาชดเชยการรับแรงของวัสดุที่มีการดูดซับแรงบางส่วนเอาไว้ค่ะ 

ส่วนเรื่องที่บางคนว่ากรวยแข็งทำให้เจ็บ ก็ส่วนนึงค่ะ แต่ไม่ใช้เหตุผลเพราะวัสดุค่ะ นั่นเป็นเพราะหากคุณแม่ใช้แรงเท่าเดิมจากปั๊มเครื่องเดียวกันเทียบระหว่างกรวยแข็งกับกรวยนิ่ม กรวยแข็งย่อมเจ็บกว่าเพราะแรงดูดทั้งหมด มาที่หัวนมคุณแม่ ฉะนั้นคุณแม่ต้องปรับลดแรงลงมาค่ะ โดยเครื่องปั๊มแต่ละยี่ห้อถูกทำมาให้ใช้กับกรวยที่ออกแบบมาสำหรับยี่ห้อนั้นๆ หากจะ เปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่นเพราะ เห็นตามรีวิวต่างๆ อยากให้ลองพิจารณาประเด็นนี้ด้วยนะคะ ด้วยเหตุนี้ บางแบรนด์จึงไม่แนะนำให้ใช้กรวยยี่ห้ออื่น ค่ะ

สำหรับวัสดุ จะมีอีกปัจจัยนึงคือ การเสียดสีค่ะวัสดุที่มีความหนึบ เกาะติดแน่น แน่นอนค่ะว่าจะแนบติดกัยเนื้อเราสนิทกว่า แต่อีกมุมนึง ในขณะปั๊มก็จะเกิดแรงดึงระหว่างผิวของคุณแม่กับผิวกรวยในทิศสวนทางกันซึ่งบางคนอาจจะเจ็บและรู้สึกอึดอัดได้ค่ะ

การเลือกขนาดกรวยปั๊มนม คลิ๊กที่นี่

4. ปั๊มคู่ กับการลงทุนที่คุ้มกว่า

คุณแม่หลายท่านที่อาจจะคิดว่าปั๊มทีละข้างก็ได้ สมัยก่อนก็ยังปั๊มกันแบบนี้ จริงๆแล้วก็ถูกนะคะ ราคาถูกกว่า ค่อนข้างมากแต่สำหรับคุณแม่ที่ไม่ค่อยมีเวลาปั๊ม หรือทำงานอาจจะเวลาน้อย การใช้ปั๊มคู่เท่ากับเราประหยัดเวลาปั๊มไปครึ่งนึง แต่ที่สำคัญกว่านั้น การปั๊มนมพร้อมกันสองข้าง ทำให้น้ำนมออกมาได้เร็วกว่า และอาจจะได้มากกว่า เพราะน้ำนมทั้งสองข้างเชื่อมต่อกันอยู่ค่ะ ลองสังเกตุดูว่า เวลาลูกดูดนมข้างนึง น้ำนมอีกข้างจะไหลด้วย คนที่น้ำนมเยอะๆ อาจจะ ไหลออกมาเป็นออนซ์ๆกันเลยนะคะแต่หากคุณแม่มีงบน้อยจริงๆ จะเลือกปั๊มข้างเดียว ก็อาจจะช่วยโดยระหว่างปั๊มข้างนึงอีกข้างนึงใช้มือบีบเอาค่ะ น้ำนมจะบีบออกง่ายและเยอะ อย่างน้อยๆก็ ควรใช้ปั๊มไฟฟ้า แต่ไหนๆก็ลงทุนกับปั๊มไฟฟ้า ก็ควรจะใช้ปั๊มคู่ไปเลยค่ะ คุ้มกว่าแน่นอน ลองคิดส่วนต่างที่เราลงทุนไป กับปริมาณน้ำนมที่เพิ่มขึ้น หรืออาจจะทำให้การปั๊มนมง่ายขึ้นสบายขึ้นและสามารถปั๊มได้นานจนน้องโต ประหยัดไปได้เดือนนึงหลายพันเชียวค่ะ 

นางแบบ: กระแต เสาวคนธ์ จารุจินดา, ชุดให้นม ร้าน PitaKids

อ้างอิง

[1] Zhang et.al. Effect of pumping pressure on onset of lactation aftercaesarean section: A randomized controlled study, Maternal & Child Nutrition, 2018;14:e12486.

[2] https://www.motherandchildhealth.com/breastfeeding/all-about-breastpumps/

[3]http://www.barberdmestore.com/A-Breast-Pump-Suction-Pressure-Comparison-and-Why-Stronger-Suction-Isnt-Always-Better_b_12.html

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *